เริ่มแรก ผู้อุทธรณ์ต้องรู้ก่อนว่าคณะกรรมการสอบสวนฯ และคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ฯ ทำงานอย่างไร แม้ว่า.. คณะกรรมการทั้งสองคณะ จะอยู่บนเส้นทางของกระบวนการทางวินัยเหมือนกัน แต่ก็มีบทบาทหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการทำงานที่ต่างกัน
โดยคณะกรรมการสอบสวนฯ จะมีหน้าที่สอบสวนและเสนอความเห็นในการลงโทษ ผ่านการประมวลจากพยานหลักฐาน คำให้การของพยาน และคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกกล่าวหา
ส่วนคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ฯ จะมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบกระบวนการในชั้นสอบสวนทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่าการสั่งลงโทษนั้น มีความถูกต้อง และยุติธรรมตามกฎหมาย โดยมุ่งเน้นที่ความยุติธรรมตามขั้นตอน ว่าคณะกรรมการสอบสวนฯ และผู้สั่งลงโทษได้บังคับใช้กฎหมายกับผู้อุทธรณ์ถูกต้องหรือไม่
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจการวินิจฉัยอุทธรณ์ฯ
๑ กรณีข้าราชการพลเรือน ตาม กฎ ก.พ.ค.ว่าด้วยการอุทธรณ์และพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ.๒๕๕๑ ข้อ ๘๖ ได้บัญญัติว่า “ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้องค์คณะวินิจฉัยมีคําวินิจฉัยตามข้อ ๕๐ หรือ มีคําวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น ดังนี้
ก. การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย
(๑) ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายและระดับโทษเหมาะสมแล้ว ให้มีคําวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์
(๒) ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษดำเนินการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้มีคําวินิจฉัยให้ยกเลิกคำสั่ง และให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการเสียใหม่ให้ถูกต้อง
(๓) ถ้าเห็นว่าการดำเนินการทางวินัยถูกต้องตามกฎหมายและผู้อุทธรณ์ควรได้รับโทษเบาลง ให้มีคําวินิจฉัยให้ลดโทษเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่เบาลง แต่ถ้าเห็นว่าผู้อุทธรณ์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จะลดโทษต่ำกว่าปลดออกไม่ได้
(๔) ถ้าเห็นว่าการดำเนินการทางวินัยถูกต้องตามกฎหมาย และเห็นว่าการกระทำของผู้อุทธรณ์ไม่เป็นความผิดทางวินัย หรือพยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่าผู้อุทธรณ์กระทำผิดวินัย ให้มีคําวินิจฉัยให้ยกโทษ
(๕) ถ้าเห็นว่าข้อความในคำสั่งลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ให้มีคําวินิจฉัยให้แก้ไขเปลี่ยน แปลงข้อความให้เป็นการถูกต้องเหมาะสม
๒ กรณีข้าราชการส่วนท้องถิ่น ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัด XX เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ พ.ศ.๒๕๕๘ ข้อ ๒๑ ได้บัญญัติว่า “ คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล ได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามข้อ ๙ วรรคหนึ่งแล้ว
ก.การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย
(๑) ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษถูกต้องและเหมาะสมกับความผิดแล้ว ให้มีมติยกอุทธรณ์
(๒) ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมกับความผิด และเห็นว่าผู้อุทธรณ์ได้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง แต่ควรได้รับโทษหนักขึ้นให้มีมติให้เพิ่มโทษเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่หนักขึ้น
(๓) ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมกับความผิด และเห็นว่าผู้อุทธรณ์ได้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ควรได้รับโทษเบาลง ให้มีมติให้ลดโทษเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่เบาลง
(๔) ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมกับความผิด และเห็นว่าผู้อุทธรณ์ได้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษให้มีมติให้สั่งงดโทษโดยให้ว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือก็ได้
(๕) ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษไม่ถูกต้อง และเห็นว่าการกระทำของผู้อุทธรณ์ไม่เป็นความผิดวินัย หรือ พยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่าผู้อุทธรณ์กระทำผิดวินัย ให้มีมติให้ยกโทษ
(๖) ถ้าเห็นว่าข้อความในคำสั่งลงโทษไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสม ให้มีมติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง ข้อความให้เป็นการถูกต้องเหมาะสม
(๗) ......
(๘) ....
(๙) ....
จากข้อกฎหมายข้างต้น จะเห็นได้ว่าการอุทธรณ์ฯ จึงเป็นมากกว่าการนำข้อเท็จจริงของคดีมาพูดซ้ำ หรือการแก้ข้อกล่าวหาซ้ำ อย่างที่หลายคนเข้าใจ
โดยการอุทธรณ์จะเน้นที่ความยุติธรรมตามขั้นตอน ว่าคณะกรรมการสอบสวนและผู้สั่งลงโทษได้บังคับใช้กฎหมายกับผู้อุทธรณ์อย่างถูกต้องหรือไม่
ดังนั้น ที่สำนักงานกฎหมายวินัย จึงพร้อมรับฟังทุกสิ่งที่ท่านพูด และพร้อมตรวจสำนวนการสอบสวนของท่านอย่างทุกแง่มุม เพื่อนำเสนอข้อโต้แย้งทางกฎหมายที่ดีที่สุดของท่าน ที่สำคัญ หากเราเชื่อว่าโอกาสในการอุทธรณ์ฯ ของท่านจะไม่เอื้ออำนวย เราจะไม่ลังเลที่จะบอกท่านอย่าตรงไปตรงมา.. โทรหาเราวันนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับทางเลือกในการอุทธรณ์ฯ หรือการฟ้องคดีปกครองของท่าน
