การชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา คืออะไร
เชื่อไหม กฏสอบสวนไม่ได้ระบุวิธีการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาหรือรูปแบบการชี้แจงข้อกล่าวหา ให้ผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบหรือเป็นเพราะมายาคติในการสอบสวนที่หวังว่าผู้สอบสวน/ไต่สวน จะทำหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน ทั้งที่เป็นคุณและโทษให้กับตัวผู้ถูกกล่าวหา มากกว่าการรวบรวมพยานหลักฐานเฉพาะที่จะเอาความผิด
คำว่า “ชี้แจงข้อกล่าวหา” หรือ “ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา” เป็นคำสามัญที่มีความหมายตรงตัวว่าเป็นการอธิบายเพื่อโต้แย้งข้อกล่าวหาต่างๆ ที่ผู้สอบสวน/ไต่สวน กล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหา กระทำผิด ซึ่งในกระบวนการสอบสวน/ไต่สวน ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา สามารถเลือกการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาได้ 2 วิธี ดังนี้
- การเขียนหนังสือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
- การให้ถ้อยคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา

วิธีการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
ส่วนใหญ่ในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ฝ่ายผู้สอบสวน/ไต่สวน มักกำหนดให้ผู้ถูกกล่าวหาทำหนังสือชี้แจงข้อกล่าวหามากกว่า การเรียกเข้าพบเพื่อให้ถ้อยคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา อาจเป็นเพราะมันง่าย และไม่ต้องมาสอบสวนไล่จี้ถามกันตามองค์ประกอบความผิด จนเกิดเป็นความโกรธเคือง หรือความสงสารที่มีต่อผู้ถูกกล่าวหา รวมทั้ง มักจะกำหนดให้ผู้ถูกกล่าวหาทำการชี้แจงข้อกล่าวหา ด้วยการส่งหนังสือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ต่อผู้สอบสวนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้ถูกกล่าวหาได้รับบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาฯ ซึ่งถือว่าเป็นเวลาที่น้อยมาก สำหรับผู้ถูกกล่าวหาที่งานประจำก็ต้องไปทำ ข้อกล่าวหาก็ต้องมานั่งแก้
แต่ก่อนที่ เว็บวินัยฯจะกล่าวถึงวิธีการชี้แจงข้อกล่าวหา เว็บใคร่ขอเรียนให้ท่านทราบเพื่อเป็นพื้นฐานของการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาก่อนว่า บรรดา “ข้อกล่าวหา” ที่ผู้สอบสวน/ไต่สวน นำมาแจ้งต่อท่าน ล้วนแต่มีบ่อเกิดและที่มาจาก
แต่ก่อนที่ เว็บวินัยฯจะกล่าวถึงวิธีการชี้แจงข้อกล่าวหา เว็บใคร่ขอเรียนให้ท่านทราบเพื่อเป็นพื้นฐานของการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาก่อนว่า บรรดา “ข้อกล่าวหา” ที่ผู้สอบสวน/ไต่สวน นำมาแจ้งต่อท่าน ล้วนแต่มีบ่อเกิดและที่มาจาก
- ข้อเท็จจริง
- ข้อกฏหมาย
- พยานหลักฐาน
การถอดรหัส ! ข้อกล่าวหา
"ข้อกล่าวหา" นั้น เมื่อรับมาจากผู้สอบสวน / ไต่สวนแล้ว มันก็เปรียบเสมือนระเบิดเวลา หากท่านไม่ส่งคำชี้แจงข้อกล่าวหาภายในกำหนด เพราะกฎสอบสวนให้ถือเสมือนว่าผู้ถูกกล่าวหา ไม่ประสงค์จะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ดังนั้น เพื่อให้การชี้แจงข้อกล่าวหาต่างๆ สามารถดำเนินการได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาจึงควรทำการถอดรหัส ! ข้อกล่าวหาจากข้อความใน “บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา” เพื่อหากลุ่มข้อความที่แสดงถึงความสัมพันธ์ตามหลักองค์ประกอบความผิด และพยานหลักฐานต่างๆ ที่ถูกใช้ในการเชื่อมโยงความผิด ดังนี้- กลุ่มข้อความในส่วนที่เป็น “ข้อเท็จจริง” ส่วนใหญ่มักจะเขียนบรรยายว่า ผู้ถูกกล่าวหา กระทำการใด เรื่องใด ในเอกสารใด และฝ่ายผู้สอบสวน/ไต่สวน ได้ตรวจพบ “ข้อเท็จจริง” อันแสดงถึงความเท็จ หรือความผิดของท่านอย่างไร
- กลุ่มข้อความ ที่เขียนกล่าวหาว่าท่านกระทำความผิดตาม “ข้อกฎหมาย”หรือ“ระเบียบ” ใด รวมทั้ง เป็นความผิดทางวินัยหรือทางอาญาในกรณีใด ฐานความผิดใด
- กลุ่มข้อความที่กล่าวถึง “ พยานหลักฐาน ” ที่ผู้สอบสวน/ไต่สวน ใช้สนับสนุนการแจ้งข้อกล่าวหา
อีกทั้ง หากเป็นการแจ้งข้อกล่าวหาตาม พรบ.ฮั้ว (พรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ) ร่วมกับฐานความผิดทางวินัยและอาญาอื่นๆ ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาจะต้องสังเกตการเขียนบรรยายข้อกล่าวหา ว่ามีการระบุว่าผู้ถูกกล่าวหา ได้รู้หรือควรรู้ว่าการเสนอราคาครั้งนั้น มีการแข่งขันราคาที่ไม่เป็นธรรมอย่างไร ซึ่งถือเป็นความยุ่งยากของการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาประเภทนี้ ที่ท่านต้องยึดหลัก "ค้นให้ลึก คิดให้กว้าง"
จากนั้น เมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้ข้อมูลอันเป็นส่วนประกอบของ “ข้อกล่าวหา” ทั้งสามส่วนแล้ว สำหรับท่านมือใหม่ ซึ่งยังไม่คุ้นเคยกับระบบการสอบสวน/ไต่สวน หรือผู้ที่อาศัยช่วงเวลาสั้นๆหลังเลิกงานมาเขียนหนังสือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ก็ให้นำข้อมูลดังกล่าวมาเขียนเป็นโครงร่างแนวคิดการจัดทำหนังสือชี้แจงข้อกล่าวหาในรูปแบบมายแมพ (mimd map) เพื่อใช้เป็นแผนที่ในการสืบหาข้อเท็จจริง และตามหาพยานหลักฐานที่ต้องใช้ในการแก้ข้อกล่าวหา โดยเบื้องต้นให้ท่านตั้งเป้าไปที่ข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการเขียนแก้ข้อกล่าวหาโดยตรงก่อน ส่วนเอกสารหลักฐานลำดับรอง เช่น เอกสารคุณความดีต่างๆ ให้ทำการรวบรวมภายหลังเมื่อมีเวลาเหลือ เพราะสิ่งเหล่านี้ คือเหตุลดหย่อนโทษ มิใช่เอกสารสนับสนุนการแก้ข้อกล่าวหา ส่วนท่านมือเก่าก็ให้เลือกเก็บข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานตามหลักองค์ประกอบความผิดได้เลยครับ
การสืบหาพยานหลักฐานเพื่อการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
ในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาอาจเลือกสืบหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานได้จากหลายแหล่ง ตัวอย่างเช่น จากเพื่อนร่วมงานหรือผู้เกี่ยวข้องตามสายการบังคับบัญชา หรือจากหนังสือโต้ตอบระหว่างหน่วยงาน หรือเอกสารโต้ตอบระหว่างท่านกับผู้บังคับบัญชา หรือจากรายงานขอซื้อขอจ้างที่เกี่่ยวข้อง เป็นต้นสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ภาพความทรงจำของผู้ถูกกล่าวหาที่เคยจางๆ กลับมาเด่นชัดขึ้น ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ท่านได้ข้อเท็จจริงที่แม่นยำของเรื่องราวในวันวาน มาประกอบการเขียนชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา แต่ถ้าเป็นการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา จากการแจ้งข้อกล่าวหา แบบกลุ่มใหญ่หลายคน เช่น
- เป็นการแจ้งข้อกล่าวหาตามรายชื่อเจ้าหน้าที่ในเอกสารจัดซื้อหรือจัดจ้าง
- เป็นการแจ้งข้อกล่าวหาตามรายชื่อเจ้าหน้าที่ในบันทึกจับกุมฯ โดยไม่สนว่าใครจะเป็นพระเอก พระรอง ตัวโกง หรือตัวประกอบ
การตัดสินใจว่าจะตั้งรูปเรื่องต่อสู้ และวางแนวทางคดีอย่างไร
ซึ่งทางเลือกนั้น มีหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น- ทำการต่อสู้ เพื่อยืนยันเจตนาบริสุทธิ์ของตน
- ทำการต่อสู้ เฉพาะประเด็นความเสียหาย เพื่อหวังการลงโทษสถานเบา
- ให้คำรับสารภาพ เพื่อหวังเหตุลดหย่อนโทษ หรือ
- เราจะรบเคียงไหล่ เราจะตายเคียงกัน

ข้อควรระวังในการชี้แจงข้อกล่าวหา
สำหรับข้อกล่าวหาประเภทร่วมกันกระทำความผิดของกลุ่มบุคคลต่างๆ เช่น
- กลุ่มผู้บริหาร ผู้อนุมัติ/อนุญาต
- กลุ่มผู้บังคับบัญชา ที่ลงนามผ่านเรื่อง
- กลุ่มผู้ปฏิบัติ เจ้าของเรื่อง
- กลุ่มคณะกรรมการทางพัสดุ
ดังนั้น ผู้ถูกกล่าวหาที่เป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่รู้เห็นเกี่ยวกับการกระทำผิด จึงไม่สมควรที่จะลอกคำชี้แจงฯ ของตัวการที่มีเจตนากระทำความผิด คำชี้แจงฯ ของผู้ถูกกล่าวหาที่ขาดเจตนากระทำความผิด ควรต้องออกแบบและตัดเย็บให้เข้ากับอำนาจหน้าที่ และพฤติการณ์ทางคดีของผู้ถูกกล่าวหาแต่ละคนครับ
แต่ส่วนใหญ่การเขียนคำโต้แย้งข้อกล่าวหา ที่มักพบเห็นได้บ่อย ก็คือการโต้แย้งในส่วนของ “ข้อเท็จจริง” และ ” พยานหลักฐาน” ตามที่ปรากฏใน “บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาฯ” ส่วนการเขียนโต้แย้งในส่วนของ“ข้อกฎหมาย ”นั้น จะพบเห็นได้น้อย เพราะหากมีความไม่ชัดเจนในระเบียบ หรือกฏหมายใด หน่วยงานมักจะออกหนังสือสั่งการวางแนวทางปฏิบัติกำกับไว้ตลอด จึงทำให้โอกาสในการโต้แย้งเรื่องความไม่ชัดเจนของระเบียบหรือกฎหมายนั้นมีได้น้อยมาก
ดังนั้น ในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาจึงควรใช้ประโยชน์จากการแจ้ง “ข้อกฎหมาย” หรือ "ฐานความผิด" ด้วยการนำองค์ประกอบความผิดตามข้อกฎหมายหรือฐานความผิดนั้น มาเป็นตัวกำหนดขอบเขตในการเขียนคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาครับ
เป้าหมายการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
จากที่ วินัย.com ได้เรียนให้ทราบไปข้างต้นแล้วว่า "ข้อกล่าวหา" นั้น มีบ่อเกิดที่มาจากการรวมตัวของข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพยานหลักฐาน ดังนั้น เป้าหมายสำคัญในการเขียนชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ก็คือการเขียนคำโต้แย้งส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งสามส่วนของข้อกล่าวหาแต่ส่วนใหญ่การเขียนคำโต้แย้งข้อกล่าวหา ที่มักพบเห็นได้บ่อย ก็คือการโต้แย้งในส่วนของ “ข้อเท็จจริง” และ ” พยานหลักฐาน” ตามที่ปรากฏใน “บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาฯ” ส่วนการเขียนโต้แย้งในส่วนของ“ข้อกฎหมาย ”นั้น จะพบเห็นได้น้อย เพราะหากมีความไม่ชัดเจนในระเบียบ หรือกฏหมายใด หน่วยงานมักจะออกหนังสือสั่งการวางแนวทางปฏิบัติกำกับไว้ตลอด จึงทำให้โอกาสในการโต้แย้งเรื่องความไม่ชัดเจนของระเบียบหรือกฎหมายนั้นมีได้น้อยมาก
ดังนั้น ในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาจึงควรใช้ประโยชน์จากการแจ้ง “ข้อกฎหมาย” หรือ "ฐานความผิด" ด้วยการนำองค์ประกอบความผิดตามข้อกฎหมายหรือฐานความผิดนั้น มาเป็นตัวกำหนดขอบเขตในการเขียนคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาครับ
Tips: การชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
แม้การชี้แจงข้อกล่าวหาจะจบลงด้วย 2 เส้นทาง คือการปฎิเสธ หรือการรับสารภาพ แต่สำหรับผู้ถูกกล่าวหาที่เลือกเส้นทางปฏิเสธ ท่านจะต้องไม่รีบร้อนปรับข้อเท็จจริงที่ยังไม่ได้ข้อยุติ เข้ากับระเบียบหรือข้อกฏหมาย เพราะถ้าผู้สอบสวนได้ข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่ผู้ถูกกล่าวหารวมได้ ก็อาจส่งผลให้การชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของท่านไม่ตรงประเด็นข้อกล่าวหา
อีกทั้ง ท่านอย่าทำการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา โดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนการแก้ข้อกล่าวหา ขอให้ท่านตระหนักไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ท่านได้รับบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาจากผู้สอบสวน / ไต่สวน ย่อมเป็นกรณีที่ข้อกล่าวหานั้นมีพยานหลักฐานสนับสนุนข้อกล่าวหาว่าท่านเป็นผู้กระทำผิดแล้ว ดังนั้น หากผู้ถูกกล่าวหา ทำการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนการแก้ข้อกล่าวหา ย่อมส่งผลให้คำชี้แจงฯ ฉบับนั้นไม่มีน้ำหนักให้รับฟังแต่อย่างใด
อนึ่ง วินัย.com ขอเรียนให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ เพื่อเป็นกำลังใจในการค้นหาพยานหลักฐานว่า เส้นทางการพิจารณาความผิดและการกำหนดโทษนั้น มิได้จำกัดอยู่ที่กลุ่มผู้สอบสวนเพียงกลุ่มเดียว เพราะในกระบวนการทางวินัย ยังมีกลุ่มบุคคลอีกหลายองค์คณะ ที่รอจะพิจารณาคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของท่านอยู่ ฉะนั้นแล้ว บรรดาพยานหลักฐานที่ท่านสละเวลาค้นหามา เพื่อสนับสนุนการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา จะถูกติดรวมในสำนวนการสอบสวน / ไต่สวน และเดินทางเป็นกระบอกเสียงให้กับท่านไปอีกไกล เพื่อประกอบการพิจารณาในหลายองค์คณะและหลายระดับชั้น ซึ่งเว็บวินัยฯ เชื่อว่าแต่ละองค์คณะล้วนแต่มีดุลยพินิจ และมีมโนธรรมในการรับฟังข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน ดังที่เคยปรากฏการเปลี่ยนแปลง หรือการเพิกถอนคำสั่งลงโทษอยู่เนืองๆ ดังนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้นหา "แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์" อย่า ! ส่งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วยกระดาษแผ่นเดียว